วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Aromatic

สมบัติของอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

จากโครงสร้างของสารประกอบอะโรมาติก จะเห็นว่ามีพันธะคู่อยู่หลายแห่ง แต่จากการศึกษาสมบัติทางเคมีพบว่าพันธะคู่ในอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนเสถียรมาก จึงไม่เกิดปฏิกิริยาที่พันธะคู่ เช่น ไม่ฟอกจางสีของ KMnO4 ไม่เกิดปฏิกิริยาการเติมกับ H2 หรือ Br2 ภายใต้สภาวะเดียวกับแอลคีน ปฏิกิริยาส่วนใหญ่คล้ายแอลเคนคือเกิดปฏิกิริยาแทนที่ (Substitution reaction) ซึ่งพอสรุปได้ว่าอะโรมาติกไซโรคาร์บอนมีโครงสร้างคล้ายแอลคีน แต่เกิดปฏิกิริยาคล้ายแอลเคน จึงแยกออกมาเป็นกลุ่มต่างหาก

สมบัติทางกายภาพ

เป็นของเหลวใสไม่มีสีจนถึงสีเหลืองอ่อน ๆ มีความหนาแน่นน้อยกว่า ไม่ละลายน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัว

สมบัติทางเคมี

1. ปฏิกิริยาการเผาไหม้ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนติดไฟให้เขม่าและควันมาก ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำดังสมการ

2 C6H6(l)   +   15 O2(g)      12 CO2(g)   +   6 H2O(g)


2. ปฏิกิริยาแทนที่
1) ปฏิกิริยาแทนที่ด้วยเฮโลเจน (Halogenation) เบนซีนจะทำปฏิกิริยากับ Cl2 หรือ Br2 โดยมีผงเหล็กหรือ FeCl3 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เกิดปฏิกิริยาแทนที่ได้แก๊สไฮโดรเจนเฮไลด์ เช่น



+

Cl2

 


+

HCl
benzene



Chloro benzene

Hydrogen chloride




+

Br2

 


+

HBr
benzene



Bromo benzene

Hydrogen bromide


2) ปฏิกิริยาซัลโฟเนชัน (Sulfonation) ทำปฏิกิริยากับ H2SO4 เข้มข้น



+

HNO3 / H2SO4

 

benzene



Sulfonic acid

3. ปฏิกิริยา Nitration
เบนซีนเกิดปฏิกิริยากับกรดไนตริก HNO3  โดยมีกรดซัลฟิวริก H2SO4 เข้มข้น เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ไนโตรเบนซีน

เทคนิคการจำเคมี



เทคนิคการท่องตารางธาตุ พื้นฐานวิชาเคมีระดับนักเรียน


เคมีอินทรีย์ ม.601


ศึกษาเพิ่มเติม



วันศุกร์ ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554





















การปราศรัยใหญ่ครั้งสุดท้ายของพรรคภูมิใจไทย พยายามที่จะหยิบยกความเป็นมาของพรรค ซึ่งแตกตัวมาจากพรรคพลังประชาชนซึ่งถูกยุบไปในช่วงก่อนหน้านี้ ขึ้นมาชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวกาฬสินธุ์ พร้อมทั้งยืนยันความเป็นพรรคการเมืองที่ทำงานเพื่อคนอีสาน และมีผลงานชัดเจน เพื่อเรียกคะแนนเสียงของชาวอีสานให้มากขึ้น ขณะที่โฆษกพรรคเตรียมร้อง กกต.พรุ่งนี้ กรณีพ.ต.ท.ทักษิณ โฟนอินเวทีเสื้อแดง
การปราศรัยใหญ่ในวันนี้ มีแกนนำคนสำคัญของพรรคหลายคน ทั้งนายชัย ชิดชอบ นายโสภณ ซารัมย์ และนายศุภชัย ใจสมุทร ขึ้นเวทีเรียกคะแนนเสียงจากชาวกาฬสินธุ์ โดยแกนนำได้ใช้เวทีนี้ชี้แจงที่มาของพรรค พร้อมกับเหตุผลที่กลุ่มเพื่อนเนวิน ต้องแยกตัวจากพรรคพลังประชาชนมาตั้งพรรคภูมิใจไทย โดยยืนยันว่าการตั้งพรรคใหม่ไม่ได้เป็นการเนรคุณ แต่เพื่อให้ประเทศเดินต่อไปได้

นอกจากนี้ได้หยิบยกความเป็นพรรคการเมืองของคนอีสานที่มีผลงานชัดเจนรวมถึงนโยบายหลัก ที่ยังเน้นประชานิยม โดยเฉพาะโครงการประกันราคาข้าวโครงการปลดหนี้เกษตกรและโครงการถนนไร้ฝุ่น มาตอกย้ำเรียกคะแนนเสียงครั้งสุดท้าย โดยมั่นใจว่าจะคว้าเก้าอี้ ส.ส.ได้ไม่น้อยกว่า 2 ที่นั่งในกาฬสินธุ์และจะได้เก้าอี้ในสภาไม่น้อยกว่า 70 ที่นั่ง

ด้านนายศุภชัย ใจสมุทรโฆษกพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ในวันพรุ่งนี้จะเดินทางไปยื่นร้องเรียนต่อ กกต.ในกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โฟนอินในเวทีของคนเสื้อแดง ซึ่งมีคำพูดบางช่วงที่เป็นการให้ร้ายผู้สมัครของพรรคภูมิใจไทย ส่งผลกระทบต่อคะแนนเสียงของพรรค และถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งอย่างชัดเจน โดยต้องการให้ กกต.พิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจังและเชื่อว่าเรื่องนี้อาจรุนแรงถึงขั้นยุบพรรคเพื่อไทย


ขณะเดียวกันนายศุภชัย ได้พูดถึงกรณีคำสั่งโยกย้ายผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุรินทร์ หลังจากมีข่าวว่าไปนั่งกินข้าวกับคนของพรรคภูมิใจไทยว่า ต้องการให้หน่วยงานขอรัฐพิจารณาให้รอบด้าน และหากพบว่ามีการกระทำผิดไม่ว่าจะเป็นพรรคใด ก็ขอให้เอาผิดอย่างจริงจังให้เท่าเทียมกัน รวมถึงเรื่องการที่มีข่าวคนของพรรคเพื่อไทยให้ผลประโยชน์กับสื่อมวลชนเพื่อให้ออกข่าวสนับสนุน ก็ต้องการให้กกต.เร่งตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจังเช่นกัน
ขณะที่นายชัย ชิดชอบ แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีการทุจริตหาเสียงเลือกตั้ง ว่าขณะนี้มีหลักฐานที่จะยื่นร้องเรียนต่อ กกต.หลายเรื่อง แต่จะรอให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปก่อนค่อยดำเนินการ


สำหรับพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มี 6 เขตเลือกตั้ง เดิมเป็นพื้นที่ของพรรคเพื่อไทยทั้ง 6 เขต แต่ปีนี้พรรคภูมิใจไทยคาดหวังจะได้ 2-3 ที่นั่ง จากผู้สมัครเขต 1 คือนายชัย คูสกุลรัตน์ ซึ่งมีภรรยาเป็นอดีต สจ.ในพื้นที่และเขต 4 ที่มีคะแนนเสียงมาแรงในช่วงการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา


วีดีโอที่เกี่ยวข้อง
 

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Alkynes

แอลไคน์ (Alkynes)
 
                          แอลไคน์เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัวประเภทที่มีพันธะสามอยู่ในโมเลกุลมีสูตรโมเลกุลทั่ว ๆ ไปเป็น CnH2n-2 สารประกอบตัวแรกของแอลไคน์ คือ อะเซทิลีน(C2H2) สารตัวนี้จัดเป็นสารประกอบที่มีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมมากที่สุดชนิดหนึ่ง ใช้ทำเชื้อเพลิง ใช้สำหรับเชื่อมโลหะโดยผสมกับออกซิเจน ใช้เตรียมสารอินทรีย์ที่ใช้ทำพลาสติกและยางเทียม
 สูตรโครงสร้างของอะเซทิลีน คือ HC º CH
                    การเรียกชื่อสารประกอบแอลไคน์ จะเป็นไปตามระบบ IUPAC คือ เปลี่ยนคำลงท้ายเป็น ไอน์ (-yne)
                                C2H2       =             Ethyne,                  C3H4       =             Propyne,
                                C4H6       =             Butyne,                  C5H8       =             Pentyne,
                                C6H10      =             Hextyne,               C7H12      =             Heptyne,
                                C8H14      =             Octyne,                  C9H16      =             Nontyne,
                                C10H18    =             Decyne 
                    คุณสมบัติทางกายภาพและประโยชน์ของสารแอลไคลน์
1.       เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัว เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์แบบไม่มีขั้ว
2.       แอลไคน์ที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอน C2 – C4 จะเป็นแก๊ส และเมื่อมีจำนวนอะตอมของคาร์บอนมากขึ้นจะเป็นของเหลว (C5 – C17) และของแข็ง (C18 ขึ้นไป) ตามลำดับ
3.       แอลไคน์เป็นสารที่ไม่มีสี
4.       เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ แต่เป็นแก๊สมีกลิ่นและจะมีกลิ่นเหม็นเนื่องจากมีสารพวกฟอสจีน หรือไฮโดรเจนซัลไฟต์ (H2S) ผสมอยู่
5.       ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์
6.       แอลไคน์มีพันธะสามในโมเลกุลจึงทำให้มีเสถียรภาพต่ำกว่าแอลคีน และเกิดปฏิกิริยารวมตัวได้ดี
7.       แอลไคน์มีจุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่นที่สูงขึ้นตามจำนวนอะตอมของคาร์บอน
                คุณสมบัติทางเคมีของสารแอลไคน์
1.       เกิดปฏิกิริยารวมตัวได้เหมือนกับแอลคีน ซึ่งเกิดขึ้นได้ดีกว่าแอลคีนถึงสองเท่า
C2H2 + 2Ag              AgC CAg + 2H+
                2.      แอลไคน์ทำปฏิกิริยากับโลหะจะได้แก๊ส H2 ดังสมการ
<![endif]>3.    แอลไคน์เกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ มีเขม่า และควันมาก   
             C7H12 + 1002         7CO2 + 6H2O

Alkene

แอลคีน (Alkene)


                    แอลคีน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โอเลฟิน (Olefin) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวโดยที่ในโมเลกุลมีพันธะระหว่างคาร์บอนกับคาร์บอนเป็นพันธะคู่อย่างน้อย 1 คู่ มีสูตรโมเลกุลทั่วไปเป็น CnH2n สารแอลคีนตัวแรกที่มีคาร์บอนอยู่ในโมเลกุลเล็กที่สุด  จะมีคาร์บอนอย่างน้อย2 อะตอม ซึ่งเอทิลีน (C2H4) เป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ใช้มากในอุตสาหกรรมเพื่อสังเคราะห์สารพอลิเมอร์ และเคยใช้เป็นยาสลบในทางการแพทย์อีกด้วย เอทิลีนมีสูตรโครงสร้าง ดังนี้








การเรียกชื่อสารประกอบแอลคีน จะเป็นไปตามระบบ IUPAC ที่ควรทราบ คือ
1. คำลงท้ายของสารแอลคีน คือ อีน (-ene)
C2H4       =             Ethene,                  C3H6       =             Propene,
C4H8       =             Butene,                  C5H10      =             Pentene,
C6H12      =             Hexene,                 C7H14      =             Heptene,
C8H16      =             Octene,                  C9H18      =             Nontene,
C10H22    =             Decene         
 
2. ใช้โซ่ต่อเนื่องที่ยาวที่สุด ซึ่งมีพันธะคู่รวมอยู่ด้วยเป็นโซ่หลัก
3. <![endif]>ต้องระบุตำแหน่งของพันธะคู่โดยให้คาร์บอนตัวแรกของพันธะคู่มีเลขต่ำสุด เช่น
4      3      2      1
CH3-CH3-CH=CH2                             1-Butene
 
4      3      2      1
CH3-CH3=CH-CH3                             2-Butene
4.  ถ้ามีพันธะคู่มากกว่า 1 พันธะ ต้องระบุตำแหน่งพันธะคู่ให้ชัดเจนแล้วใช้ di
(หมายถึง 2) tri (หมายถึง 3 ) แทนจำนวนพันธะคู่ โดย di, tri จะอยู่หน้าคำว่า “ene” แต่อยู่หลัง
คำระบุจำนวนคาร์บอน คือ but, pent, hex….
4      3      2      1
CH2=CH-CH=CH2                                       1,3-Butadiene (มีพันธะคู่ 2 ตำแหน่ง)
7      6      5      4       3       2      1
CH3-CH=CH- CH= CH= CH –CH2        1,3,5-Heptatriene (มีพันธะคู่ 3 ตำแหน่ง)
คุณสมบัติทางกายภาพและประโยชน์ของสารแอลคีน
แอลคีนมีคุณสมบัติค่อนข้างคล้ายกับสารแอลเคน กล่าวคือ
1.       แอลคีนที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนตั้งแต่ 2-4 อะตอม จะมีสถานะเป็นแก๊สจำนวนอะตอมของคาร์บอนตั้งแต่ 5-17 อะตอมจะเป็นของเหลว และถ้ามีจำนวนอะตอมของคาร์บอนตั้งแต่ 18 ขึ้นไป จะเป็นของแข็ง
2.       แอลคีนเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัว จึงเป็นสารที่ไวต่อปฏิกิริยากว่าแอลแคน
3.       ภายในโมเลกุลของแอลคีนมีพันธะคู่ตั้งแต่ 1 พันธะ ที่ปะปนอยู่กับพันธะเดี่ยว
4.       แอลคีนไม่ละลายน้ำ จัดเป็นสารประกอบโคเวเลนต์แบบไม่มีขั้ว จะละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์
5.       ติดไฟง่าย แต่อาจมีเขม่า
6.       มีกลิ่นเฉพาะตัว
7.       มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
8.       มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ แต่จุดเดือดจะสูงขึ้นเมื่อจำนวนคาร์บอนในโมเลกุลเพิ่ม
              คุณสมบัติทางเคมีของสารแอลคีน
1.       ปฏิกิริยาการรวมตัว (Addition) สารแอลคีนมีพันธะคู่ ภายในโมเลกุลจึงทำใหมีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา และสารที่เข้าทำปฏิกิริยาจะรวมกับแอลคีนที่ตรงตำแหน่งของพันธะคู่ตัวอย่างเช่น แอลคีนทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน
 
2.      <![endif]>ปฏิกิริยาการเผาไหม้กับออกซิเจนในอากาศ (Oxidation Reaction) ได้แก๊สคาร์บอน-ไดออกไซด์กับน้ำ และให้ความร้อนออกมา ดังสมการ
 
3.       <![endif]>แอลคีนทำปฏิกิริยากับสารละลายโบรมีน (Br2) ในคาร์บอนเดตระคลอไรด์ (CCl4) ได้ ทั้งในที่มืดและที่มีแสงสว่าง จะได้ผลผลิต ดังสมการ
 
                แอลคีน (หรือแอลไคน์) ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัวจะนิยมทดสอบด้วย Br2 ใน CCl4 ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ถ้าสีของ Br2 ถูกฟอกจางในที่มืดได้แสดงว่าสารประกอบที่เรานำมาทดสอบนั้นมีพันธะคู่หรือพันธะสามอยู่
4.      แอลคีนทำปฏิกิริยากับด่างทับทิม (KMnO4) ในสารละลายกรด นิยมเรียกว่า ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation reaction) หลังจากทำปฏิกิริยาแล้ว KMnO4 จะถูกฟอกจางสีจึงอาจเรียกปฏิกิริยานี้อีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิกิริยาฟอกจางสี
 
5.       ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซซัน เป็นปฏิกิริยารวมตัวชนิดหนึ่ง เกิดจากโมเลกุลเล็ก ๆ ของแอลคีน (หรือแอลไคน์) หรือเรียกอีกชื่อว่า มอนอเมอร์ (Monomer) มารวมกันเป็นโมเลกุลที่ยาวมีมวลโมเลกุลสูงขึ้นจนเรียกว่า พอลิเมอร์ (Polymer