วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวข้อสอบวิชาเคมี

แบบทดสอบปลายภาคเรียนรายวิชาเคมี

1. ถ้าผสมแก๊ส C2H4 และ C2H6 ในสัดส่วนจำนวนโมลเท่ากัน หนัก 5.8 กรัม ทำให้เกิดปฏิกิริยาเผาไหม้กับแก๊สออกซิเจนอย่างสมบูรณ์ จะต้องใช้แก๊สออกซิเจนอย่างน้อยกี่กรัม
     1. 6.5 2. 11.6 3. 20.8 4. 41.6


2.นำตัวยาพาราเซตามอล ซึ่งมีสูตรโมเลกุลเป็น C8H9O2N มาทำปฏิกิริยาต่างๆ เพื่อวิเคราะห์หาโครงสร้างได้ผลการทดลองดังต่อไปนี้
1. สารละลายของพาราเซตามอลไม่มีฤทธิ์เป็นเบส
2. นำพาราเซตามอลไปต้มกับสารละลายกรด HCl ได้ผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ สาร A และ สาร B
3. สาร A มีกลิ่นเหมือนน้ำส้มสายชู และเมื่อทำปฏิกิริยากับ NaHCO3 จะได้ฟองแก๊สเกิดขึ้น
4. สาร B เป็นสารประกอบที่มีวงเบนซีน และสามารถละลายน้ำได้ดี
จ. เมื่อนำสาร B จำนวน 1 โมลมาทำปฏิกิริยากับกรด HCOOH จำนวน 2 โมล ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสาร C ซึ่งมีสูตรโมเลกุลเป็น C8H7O3N
พาราเซตามอลควรมีโครสร้างดังข้อใด(อัตนัย)


3.ลิกไนท์มีค่าคาร์บอนเฉลี่ยกี่เปอร์เซ็นต์
   1. 75.0 2. 82.60 3. 93.5 4. 65.7



แบบทดสอบเรื่องสารชีวโมเลกุล

25 Questions  I  972 Attempts  I  Created By pakdee 720 days ago
ให้นักเรียนชั้น ม.5/6 และ 5/7 เข้าทำข้อสอบพร้อมทั้งปร�� �้นเกียรติบัตรมาส่งด้วย
Name




Question Excerpt From แบบทดสอบเรื่องสารชีวโมเลกุล
Q.1)  หน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีนคืออะไร
A.
B.
C.
D.
Q.2)  พันธะที่เชื่อมต่อระหว่างกรดอะมิโนในพอลิเพปไทด์คือพันธะใด
A.
B.
C.
D.
Q.3)  ข้อใดให้ความหมายของกรดอะมิโนที่จำเป็นได้ถูกต้อง
A.
B.
C.
D.
Q.4)  พันธะเพปไทด์เป็นพันธะระหว่างธาตุใดกับธาตุใด

ก. C-N

ข. C-O

ค. N-H

ง. C-H
A.
B.
C.
D.
Q.5)  กรดอะมิโน 4 ชนิดรวมกันจะเกิดโปรตีนได้กี่ชนิด
A.
B.
C.
D.
Q.6)  กรดอะมิโน 4 ชนิดรวมกันจะเกิดพันธะเพปไทด์กี่ตำแหน่ง
A.
B.
C.
D.
Q.7)  สารที่ใช้ในการทดสอบโปรตีนคือสารใดและให้ผลการทดสอบเป็นอย่างไร
A.
B.
C.
D.
Q.8)  กรดไขมันแบ่งเป็นกี่ประเภท
A.
B.
C.
D.
Q.9)  กรดไขมันชนิดอิ่มตัวที่มี C 18 อะตอมมีสูตรตรงตามข้อใด

ก. C17H35COOH

ข. C18H37COOH

ค.  C17H33COOH

ง.  C17H31COOH
A.
B.
C.
D.
Q.10)  กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่มี C 18 อะตอมมีพันธะคู่ 1 ตำแหน่งจะมีสูตรตรงตามข้อใด

ก. C17H35COOH

ข. C18H37COOH

ค.  C17H33COOH

ง.  C17H31COOH
A.
B.
C.
D.
Q.11)  กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่มี C 18 อะตอมมีพันธะคู่ 2 ตำแหน่งจะมีสูตรตรงตามข้อใด

ก. C17H35COOH

ข. C18H37COOH

ค.  C17H33COOH

ง.  C17H31COOH
A.
B.
C.
D.
Q.12)  กรดไขมันในข้อใดเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว

ก. C15H31COOH

ข. C15H29COOH

ค. C11H23COOH

ง. C17H35COOH
A.
B.
C.
D.
Q.13)  กรดไขมันในข้อใดเกิดปฏิกิริยาฟอกจางสีกับโบรมีนได้

ก. C15H31COOH

ข. C15H29COOH

ค. C11H23COOH

ง. C17H35COOH
A.
B.
C.
D.
Q.14) 
น้ำมันพืชที่ใช้ทอดอาหารแล้วเกิดกลิ่นเหม็นหืนมากที่สุด แสดงว่ากรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบ
ในน้ำมันพืชนั้น มีสูตรโครงสร้างดังข้อใด
          

   
         
A.
B.
C.
D.
Q.15)  โปรตีนที่มีสูตรโครงสร้างต่อไปนี้


มีพันธะเพปไทด์กี่พันธะ เกิดจากกรดอะมิโนกี่โมเลกุลและมีจำนวนกรดอะมิโนกี่ชนิด
โปรตีนที่มีสูตรโครงสร้างต่อไปนี้
    

จำนวนพันธะ
จำนวนโมเลกุล
จำนวนชนิดของกรดอะมิโน
ก.
ข.
ค.
ง.
5
6
6
6
5
6
7
7
5
5
6
7
A.
B.
C.
D.
Q.16)  สารประกอบเพปไทด์ที่มีสูตรโครงสร้างดังนี้ จะมีพันธะเพปไทด์กี่ตำแหน่ง เกิดจากกรดอะมิโนกี่โมเลกุล และกี่ชนิดตามลำดับ


จำนวนพันธะ
จำนวนโมเลกุล
จำนวนชนิดของกรดอะมิโน
ก.
ข.
ค.
ง.
5
5
5
6
5
6
6
6
5
5
6
5
A.
B.
C.
D.
Q.17)  ข้อใดไม่ใช่ monosaccharide
A.
B.
C.
D.
Q.18)  ข้อใดคือ Disaccharide ที่เกิดจาก glucose + glucose
A.
B.
C.
D.
Q.19)  พันธะที่เชื่อมต่อระหว่าง monosaccharide แต่ละโมเลกุล คือพันธะในข้อใด
A.
B.
C.
D.
Q.20)  น้ำตาลในข้อใดเป็นน้ำตาลนอนรีดิวซ์
A.
B.
C.
D.

 

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กรดอะมิโนและพันธะเพปไทด์

กรดอะมิโนและพันธะเพปไทด์ กรดอะมิโน คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโนเป็นหมู่ฟังก์ชัน
สูตรทั่วไป
กรดอะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนมี 20 ชนิด และกรดอะมิโนจำเป็นมี 8 ชนิด คือ เมไทโอนีน ทรีโอนีน ไลซีน เวลีน ลิวซีน ไอโซลิวซีน เฟนิลอะลานิน และทริปโตเฟน มีความสำคัญสำหรับมนุษย์
สมบัติของกรดอะมิโน
1. สภานะ ของแข็ง ไม่มีสี
2. การละลายน้ำ ละลายน้ำ เกิดพันธะไฮโดรเจนและแรงแวนเดอร์วาลส์
3. จุดหลอมเหลว สูง อยู่ระหว่าง 150 - 300 C เพราะเกิดพันธะไฮโดรเจน
4. ความเป็นกรด-เบส กรด-เบส Amphoteric substance
การเกิดพันธะเพปไทด์
พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิลของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน
อนึ่งสารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน เช่น ไนลอน ดังนี้
พวกเพปไทด์ที่เป็นโมเลกุลเปิดไม่ดูดเป็นวง จะหาจำนวนพันธะเพปไทด์ได้ดังนี้
ถ้ากรดอะมิโน n ชนิด ชนิดละ 1 โมเลกุล มาทำปฏิกิริยาเกิดเป็นพอลิเพปไทด์แบบต่าง ๆ โดยที่พอลิเพปไทด์แต่ละแบบต่างประกอบด้วยกรดอะมิโนแต่ละชนิดเท่า ๆ กัน จะพบว่า

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เชื้อเพลิงธรรมชาติ

เชื้อเพลิงธรรมชาติ

เชื้อเพลิงธรรมชาติ แบ่งเป็นถ่านหินและปิโตรเลียมดังนี้
1.ถ่านหิน คือหินตะกอนชนิดหนึ่ง เป็นแร่เชื้อเพลิง สามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีความเปราะ รอยแตกเว้าคล้ายก้นหอย มีทั้งชนิดผิวมัน และผิวด้าน มีน้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ไนโตรเจน (N) และออกซิเจน (O) นอกจากนี้ยังมีธาตุอื่นหรือสารอื่นเจือปนอีกเล็กน้อย เช่น กำมะถัน ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่นต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมากถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี
การเกิดถ่านหินต้องอาศัยปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่จะทำให้เกิดการสะสมตัวของพืช กล่าวคือต้องมีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช บริเวณสะสมตัวต้องเป็นน้ำนิ่ง และมีปริมาณแก๊สออกซิเจนจำกัด เพื่อไม่ให้เกิดการเน่าสลายของพืชที่จะกลายเป็นถ่านหิน และปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่เหมาะสม ทำให้เกิดความกดดันและความร้อนที่จะทำให้ซากพืชแปรสภาพเป็นถ่านหิน
เมื่อแยกประเภทของถ่านหินตามลำดับชั้นการเกิด แยกได้ 5 ประเภท คือ
1) พีต (peat) เป็นชั้นแรกในกระบวนการเกิดถ่านหิน ประกอบด้วยซากพืช ซึ่งบางส่วนได้สลายตัวไปแล้วสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
2) ลิกไนต์ (lignite) มีซากพืชอยู่เล็กน้อย มีความชื้นมาก ใช้เป็นเชื้อเพลิง
3) ซับบิทูมินัส (subbituminous) มีสีดำ เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพเหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้า
4) บิทูมินัส (bituninous) เป็นถ่านหินเนื้อแน่น แข็ง ประกอบด้วยชั้นถ่านหินสีดำมันวาว ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมและการผลิตกระแสไฟฟ้า
5) แอนทราไซต์ (anthracite) เป็นถ่านหินที่มีลักษณะดำเป็นเงา มันวาวมาก มีรอยแตกเว้าแบบก้นหอย ติดไฟยาก เมื่อเผาไหม้จะให้ค่าความร้อนสูง ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่างๆ

การใช้ประโยชน์จากถ่านหิน มีดังต่อไปนี้
1. ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า การถลุงโลหะ การผลิตปูนซีเมนต์ บ่มใบยาสูบ อุตสาหกรรมผลิตอาหาร อุตสาหกรรมที่ต้องใช้หม้อน้ำร้อนในกระบวนการ
2. ใช้ในการทำถ่านสังเคราะห์ เป็นสารดูดกลิ่น ใช้ในเครื่องกรองน้ำ และเครื่องใช้ต่างๆ ที่ต้องการประโยชน์ด้านการดูดซับกลิ่น
3. ใช้ทำคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา เช่น การทำเครื่องร่อน การทำอุปกรณ์กีฬา เช่น ด้ามไม้กอล์ฟ ไม้เทนนิส ไม้แบดมินตัน

แหล่งถ่านหินในประเทศไทย
แหล่งถ่านหินในประเทศไทย พบถ่านหินทุกชนิด แต่มีมากที่สุดคือถ่านหินลิกไนต์ และซับบิทูมินัส ซึ่งพบมากที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง (เหมืองแม่ทาน) อำเภองาว จังหวัดลำปาง ปริมาณถ่านหินส่วนใหญ่ในประเทศไทย นำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

2.ปิโตรเลียม หมายถึงสารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลัก 2 ชนิดคือ คาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H) โดยอาจมีธาตุชนิดอื่น เช่น กำมะถัน (S) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน (N) ปนอยู่ด้วย ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียม ความร้อน และความกดดันของสภาพแวดล้อมที่ปิโตรเลียมถูกกักเก็บ
ปิโตรเลียมเกิดจากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อนที่ตายแล้วถูกย่อยสลายภายใต้อุณหภูมิและความกดดันสูงภายใต้ชั้นเปลือกโลก
สารอินทรีย์ในซากพืชซากสัตว์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีโมเลกุลใหญ่ เรียกว่า "เคโรเจน" หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นปิโตรเลียม
- ปิโตรเลียมในสถานะของเหลว เรียกว่า "น้ำมันดิบ"
- ปิโตรเลียมในสถานะแก๊ส เรียกว่า "แก๊สธรรมชาติ"
- ปิโตรเลียมที่มีสถานะแก๊ส เมื่ออยู่ในแหล่งกักเก็บและเมื่อขึ้นมาสู่ผิวโลกจะมีสถานะเป็นของเหลว เรียกว่า "แก๊สธรรมชาติเหลว"
ปิโตรเลียมจากแหล่งกำเนิดจะไหลไปตามช่องแตก รอยแยก และรูพรุนของหินไปสู่การสะสมตัวในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม
แหล่งกักเก็บปิโตรเลียม มีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ
1) มีชั้นหินที่มีรูพรุน โพรง หรือช่องแตก ที่สามารถให้ปิโตรเลียมอยู่ได้ เช่น หินกรวดมน หินทราย หินปูน
2) มีชั้นหินเนื้อละเอียดปิดกั้นด้านบน ไม่ให้ปิโตรเลียมเล็ดลอดผ่านออกไปได้
รูปแสดงแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมโดยรอยเลื่อน
รูปแสดงแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมในชั้นหิน
ตารางแสดงการใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียม
ชื่อของส่วนต่างๆ
จุดเดือด ( ํC)
สถานะที่อุณหภูมิห้อง
ประโยชน์
แก๊ส ต่ำกว่า 40แก๊ส ใช้เป็นแก๊สหุงต้ม
น้ำมันเบนซิน 40 -180 ของเหลว ใช้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์
น้ำมันก๊าด 180 -230 ของเหลว ใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินและใช้จุดตะเกียง
น้ำมันดีเซล 230-305ของเหลว ใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล
น้ำมันเตาใส 230-305ของเหลว ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม
น้ำมันหล่อลื่น 305-405 ของเหลว ใช้ทำน้ำมันหล่อลื่น
พาราฟิน 405-515 ครึ่งแข็งครึ่งเหลวใช้ทำขี้ผึ้งพาราฟิน วาสลิน
ยางมะตอย สูงกว่า 515 ของแข็ง ใช้ราดถนน


แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย มีดังนี้
1. แหล่งน้ำมันฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
2. แหล่งแก๊สบริษัทยูโนแคล ประกอบด้วยแหล่งแก๊สเอราวัณ บรรพต สตูล ปลาทอง ปลาแดง กะพง ฟูนาน จักรวาล สุราษฎร์ ปลาหมึก โกมินทร์ และไพลิน ซึ่งอยู่บริเวณอ่าวไทย
3. แหล่งน้ำมันสิริกิตติ์ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
4. แหล่งแก๊สน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
5. แหล่งน้ำมันกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม แหล่งน้ำมันอ่างทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
6. แหล่งนางนวล เป็นแหล่งน้ำมันดิบในอ่าวไทย อยู่นอกชายฝั่งจังหวัดชุมพร
7. แหล่งบงกช เป็นแหล่งแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย
8. แหล่งน้ำมันวิเชียรบุรีและศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
9. แหล่งทานตะวันและเบญจมาศเป็นแหล่งน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติบริเวณอ่าวไทย

น้ำมันดิบ

3.3 การกลั่นน้ำมันดิบ

ตัวอย่างน้ำมันดิบ

โรงกลั่นน้ำมัน

น้ำมันดับเป็นของผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด ทั้งแอลเคน ไซโคลแอลเคน น้ำ และสารประกอบอื่น ๆ การกลั่นน้ำมันดิบจึงใช้การกลั่นลำดับสวน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

กระบวนการกลั่นน้ำมัน


1. ก่อนการกลั่นต้องแยกน้ำและสารประกอบต่าง ๆ ออกจากน้ำมันดิบก่อน จนเหลือแต่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่

2. ส่งผ่านสารประกอบไฮโดรคาร์บอนผ่านท่อเข้าไปในเตาเผาที่มีอุณหภูมิ  320 – 385OC  น้ำมันดิบที่ผ่านเตาเผาจะมีอุณหภูมิสูง จนบางส่วนเปลี่ยนสถานะเป็นไอปนไปกับของเหลว

3. ส่งสารประกอบไฮโดรคาร์บอนทั้งที่เป็นของเหลวและไอผ่านเข้าไปในหอกลั่น ซึ่งหอกลั่นเป็นหอสูงที่ภายในประกอบด้วยชั้นเรียงกันหลายสิบชั้น แต่ละชั้นจะมีอุณหภูมิแตกต่างกัน ชั้นบนมีอุณหภูมิต่ำ ชั้นล่างมีอุณหภูมิสูง ดังนั้นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลต่ำและจุดเดือดต่ำจะระเหยขึ้นไปและควบแน่นเป็นของเหลวบริเวณชั้นที่อยู่ส่วนบนของหอกลั่น ส่วนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลสูงและจุดเดือดสูงกว่าจะควบแน่นเป็นของเหลวอยู่ในชั้นต่ำลงมาตามช่วงอุณหภูมิของจุดเดือด สารประกอบไฮโดรคาร์บอนบางชนิดที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกันจะควบแน่นปนกันออกมาชั้นเดียวกัน การเลือกช่วงอุณหภูมิในการเก็บผลิตภัณฑ์จึงขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้




สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลสูงมาก เช่น น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น และยางมะตอย ซึ่งมีจุดเดือดสูงจึงยังคงเป็นของเหลวในช่วงอุณหภูมิของการกลั่น และจะถูกแยกอยู่ในชั้นตอนล่างของหอกลั่น

หอกลั่น ภายในโรงกลั่นน้ำมัน





ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม สมบัติ และการใช้ประโยชน์
ผลิตภัณฑ์ที่ได้
จุดเดือด (OC)
สถานะ
จำนวน C
การใช้ประโยชน์
แก๊สปิโตรเลียม
< 30
แก๊ส
1 – 4
ทำสารเคมี วัสดุสังเคราะห์ เชื้อเพลิงแก๊สหุงต้ม
แนฟทาเบา
30 – 110
ของเหลว
5 – 7
น้ำมันเบนซิน ตัวทำละลาย
แนฟทาหนัก
65 – 170
ของเหลว
6 – 12
น้ำมันเบนซิน แนฟทาหนัก
น้ำมันก๊าด
170 – 250
ของเหลว
10 – 19
น้ำมันก๊าด เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ไอพ่น และตะเกียง
น้ำมันดีเซล
250 – 340
ของเหลว
14– 19
เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล
น้ำมันหล่อลื่น
> 350
ของเหลว
19 – 35
น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเครื่อง
ไข
> 500
ของแข็ง
> 35
ใช้ทำเทียนไข เครื่องสำอาง ยาขัดมัน ผลิตผงซักฟอก
น้ำมันเตา
> 500
ของเหลวหนืด
> 35
เชื้อเพลิงเครื่องจักร
ยางมะตอย
> 500
ของเหลวหนืด
> 35
ยางมะตอย เป็นของแข็งที่อ่อนตัวและเหนียวหนืดเมื่อถูกความร้อน ใช้เป็นวัสดุกันซึม

น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล

น้ำมันเตา


ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดิบ